วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สังคหะ3

ต่อจาก....สังคหะ2
ก็กลับแข็งตัว (เกาะกุม) หรือน้ำ เมื่อถูกความร้อนก็เดือดและละลายไหล เมื่อถูกความเย็นจัดก็เกาะกุมกันจับกันเป็นน้ำแข็ง ในอาการ ๓๒ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในร่างกายของคนและสัตว์นั้น ส่วนที่มีอาโปธาตุมากมีอยู่ ๑๒ ส่วน คือ ดี เศลษม์ หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลายน้ำมูก ไขข้อ มูตร เตโชธาตุ เป็นธาตุที่มีลักษณะร้อนหรืออบอุ่น ทำให้เกิดพลัง เป็นธาตุที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์กับธาตุอื่นๆ แต่มีคุณสมบัติเหนือธาตุอื่นๆ ตรงที่ว่า ถ้ามีอยู่พอประมาณ ก็จะทำให้คนและสัตว์มีอายุยืนได้ วัตถุใด อวัยวะใดมีเตโชธาตุมาก วัตถุนั้น อวัยวะนั้นก็จะมีความร้อนมาก ถ้ามีพอประมาณก็จะมีความร้อนพอประมาณ พออบอุ่น แต่ถ้ามีเตโชธาตุน้อยมากก็จะเกิดความเย็น เพราะตามหลักความจริงนั้นความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อนเท่านั้น แต่เมื่อความร้อนลดลงมากจึงเห็นเป็นความเย็น ดังนั้น เตโชธาตุถ้ามีมากหรือมีพอประมาณ จึงเรียกว่าอุณฺหเตโช (ไฟร้อน) ถ้ามีน้อยมากจนเห็นเป็นเย็นจึงเรียกว่า สีตเตโช (ไฟเย็น-อุณหภูมิลดลงต่ำ) เตโชธาตุนั้นที่มีอยู่ทั่วไปในสรรพางค์กายของคนและสัตว์ โดยเฉพาะอุณหเตโช มี๔ ชนิด คือ (๑) ไฟทำให้ร่างกายอบอุ่นพอสบาย (อุสฺมเตโช) (๒) ไฟที่ช่วยย่อยอาหาร (ปาจกเตโช) (๓) ไฟที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม (ชีรณเตโช) (๔) ไฟที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน เป็นไข้ และกระวนกระวาย (สนฺตาปนเตโช-ฑาหนเตโช) วาโยธาตุ เป็นธาตุที่มีลักษณะเคร่งตึงและไหวหรือพัดผ่านไปมา เป็นธาตุที่มีความสำคัญมากแก่คนและสัตว์ เพราะเป็นธาตุที่ทำให้ไหวกาย ไหววาจา (พูด) ได้ และทำให้ชีวิตดำรงอยู่โดยเฉพาะลมหายใจเข้าออก ถ้าหมดลมประเภทนี้ก็ต้องขาดใจตาย วาโยธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในสรรพางค์กายและคนและสัตว์นั้น มี ๖ ชนิด คือ (๑) ลมพัดขึ้นเบื้องบน (อุทฺธงฺคมวาโย) เช่น การเรอ การหาว การไอ การจาม เป็นต้น (๒) ลมพัดลงเบื้องต่ำ (อโธคมวาโย) เช่น การผายลม ลมเบ่ง เป็นต้น
(๓) ลมในท้อง (กุจฺฉิสยวาโย) เช่น ลมที่ทำให้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ทำให้ปวดท้องเสียดท้อง เป็นต้น (๔) ลมในไส้ (โกฏฺสยวาโย) เช่น ลมที่ทำให้ท้องร้อง ท้องลั่น เป็นต้น (๕) ลมพัดไปตามร่างกาย ทำให้เคลื่อนไหวได้ พูดได้ (๖) ลมหายใจเข้า หายใจออก ข้อสังเกต : ธาตุทั้ง ๔ นี้ แม้จะเป็นสิ่งที่เกิดร่วมกัน อยู่ร่วมกัน จะแยกออกจากกันมิได้ แต่ธาตุเหล่านี้ก็มีส่วนที่เป็นคู่มิตร คู่ปฏิปักษ์กันอยู่ ที่เป็นคู่มิตรกันย่อมเข้ากันได้สนิทช่วยเสริมกันให้มีพลังมากขึ้น เช่น เตโชธาตุกับวาโยธาตุเป็นคู่มิตรกัน เข้ากันได้สนิท (มิสสกะ)จะเห็นได้ว่า ที่ใดมีไฟมาก ที่นั้นก็มีลมมาก และปฐวีธาตุกับวาโยธาตุเป็นคู่ปฏิปักษ์กัน จะเห็นได้ว่าที่ใดมีดินมาก ที่นั้นลมก็พัดผ่านได้น้อย เพราะธาตุที่เป็นคู่ปฏิปักษ์กันย่อมเข้ากันได้ไม่สนิท ให้ดูตารางแสดงธาตุที่เป็นคู่มิตร คู่ปฏิปักษ์กัน ดังนี้ ดังนั้น ธาตุทั้ง ๔ จึงเป็นคู่มิตรกัน ๒ คู่ และเป็นคู่ปฏิปักษ์กัน ๒ คู่ และธาตุที่ไม่เป็นปฏิปักษ์กันย่อมเป็นมิตรกันได้ ข. อุปาทายรูป ๒๔ : อุปาทายรูป แปลว่า รูปอาศัย คืออาศัยมหาภูตรูปเป็นแดนเกิดถ้าไม่มีมหาภูตรูปแล้ว รูปทั้ง ๒๔ นี้ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นตามลำพังได้ ดังนั้นจึงเรียกว่า อุปาทายรูปซึ่งมีอยู่ ๒๔ ชนิด แบ่งเป็น ๑๐ ประเภท คือ (๑) ปสาทรูป ๕ (๒) วิสยรูป ๔ (๕)
(๓) ภาวรูป ๒ (๑) (๔) หทยวัตถุ ๑ (๕) ชีวิตรูป ๑ (๖) อาหารรูป ๑ (๗) ปริจเฉทรูป ๑ (๘) วิญญัตติรูป ๒ (๙) วิการรูป ๓ (๑๐) ลักษณะรูป ๔ รวมเป็น ๒๔ ชนิด ปสาทรูป ๔ : ปสาทรูป แปลว่ารูปใส รูปผุดผ่อง จนสามารถเป็นสื่อในการรับอารมณ์ต่างๆ ได้ อันได้แก่ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ หรืออายตนะภายใน ๕ คือ (๑) จักขุปสาท ประสาทตา (๒) โสตปสาท ประสาทหู (๓) ฆานปสาท ประสาทจมูก (๔) ชิวหาปสาท ประสาทลิ้น (๕) กายปสาท ประสาทกาย ปสาทรูปทั้ง ๕ นี้เป็นรูปที่มีความสามารถในการสัมผัสกับอารมณ์ต่างๆ กล่าวคือ จักขุ-ปสาท สำหรับสัมผัสรูป (สี) โสตประสาท สำหรับสัมผัสเสียง ฆานปสาท สำหรับสัมผัสกลิ่นชิวหาปสาท สำหรับสัมผัสรส และกายปสาท สำหรับสัมผัสโผฏฐัพพะ วิสยรูป ๔ : วิสยรูป แปลว่า รูปที่เป็นอารมณ์ คือเป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิต มี ๔ อย่าง คือรูป (สี) สัททะ (เสียง) คันธะ (กลิ่น) รสะ (รส) อีกนัยหนึ่ง เพิ่ม โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัส) เข้าเป็นลำดับที่ ๕. วิสยรูปนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โคจรรูป ซึ่งแปลว่ารูปที่เป็นอารมณ์เช่นเดียวกัน ที่ว่าเป็นอารมณ์นั้น หมายความว่าเป็นอารมณ์ของจิต โดยจิตจะรับอารมณ์เหล่านี้ทางประสาทสัมผัส เช่น เมื่อจักษุประสาทสัมผัสกับรูป (สี) จิตก็จะรับรูปเป็นอารมณ์ที่ผ่านมาทางจักษุประสาทนั้น ให้ดูตารางแสดงการสัมผัสระหว่างปสาทรูป ๕ กับวิสยรูป ๕ เป็นคู่ๆ ดังนี้
ข้อสังเกต วิสยรูปหรือโคจรรูปนั้น ว่าโดยสภาวะเฉพาะที่เป็นอุปาทายรูป มีเพียง ๔อย่าง โดยเว้นโผฏฐัพพะ เพราะโผฎฐัพพะได้แก่มหาภูตรูป ๓ (เว้นอาโปธาตุ เพราะอาโปธาตุนั้นสัมผัสทางกายประสาทไม่ได้) ซึ่งเป็นรูปประเภทมหาภูตรูป แต่มหาภูตรูปนั้นเป็นอารมณ์ของจิตได้โดยผ่านทางกายประสาท วิสยรูปจึงมี ๕ เท่ากับปสาทรูป ๕ เพราะเป็นของคู่กัน ภาวรูป ๒ : ภาวรูป แปลว่า รูปบอกความเป็นหญิง เป็นชาย มี ๒ ชนิด คือ อิตถีภาวะความเป็นหญิงหรือเพศหญิง ปุริสภาวะ ความเป็นชายหรือเพศชาย สิ่งที่เป็นเครื่องบอกเพศนั้นมี ๔ อย่าง คือ (๑) ลิงฺค อวัยวะเพศ ตลอดจนรูปร่างสัณฐาน มือ เท้า เป็นต้น ของหญิงก็เป็นอย่างหนึ่ง ของชายก็เป็นอย่างหนึ่ง มีลักษณะเฉพาะแต่ละเพศ (๒) นิมิตฺต เครื่องหมายเพศ เช่น เสียงพูด เสียงหัวเราะ การยิ้ม ตลอดจนเครื่องหมายเพศอื่นๆ เช่น ชายมีหนวด มีเครา หญิงไม่มี เป็นต้น (๓) กุตฺต กิริยาท่าทาง การเคลื่อนไหว หญิงก็นุ่มนวล อ่อนโยน เรียบร้อย ชายก็เข้มแข็ง ว่องไว อาจหาญ ขึงขัง เป็นต้น (๔) อากปฺป กิริยามารยาท การเดิน การนั่ง การนอน สำหรับหญิงก็อ่อนโยน แช่มช้อยสำหรับชายก็เข้มแข็ง องอาจ เป็นต้น หทยวัตถุ : หทยวัตถุ แปลว่า รูปอันเป็นที่อยู่อาศัยของจิต (มโนธาตุ และมโนวิญญาณ-ธาตุ) ซึ่งอยู่ภายในหัวใจ กล่าวคือในหัวใจจะมีแอ่งหรือห้องโตพอจุเมล็ดดอกบุนนาค และแอ่งนี้จะมีโลหิตเป็นน้ำเลี้ยงหัวใจขังอยู่ประมาณกึ่งซองมือหรือกึ่งฟายมือ จิตจะอาศัยโลหิตนั้นเป็นอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น