วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สังคหะ2

ต่อ...สังคหะ
เป็นอันเดียวกัน จิตนี้เป็นสิ่งที่มีจริง จึงเป็นปรมัตถธรรม คือเป็นของจริงจริงๆ และจิตนั้นเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง มองเห็นไม่ได้ จับต้องไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ รูปร่างกายของเราที่เป็นอยู่ได้ เคลื่อนไหวได้ก็เพราะเรามีจิต ถ้าปราศจากจิตเมื่อใด ชีวิตก็แตกดับถึงแก่ความตาย สิ่งที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุ (คือที่อาศัยเกิด) ร่วมกับจิตเป็นสิ่งที่ประกอบอยู่กับจิตเท่านั้น เรียกว่า เจตสิก ได้แก่นามขันธ์ ๓ คือเวทขันธ์ ๓ สัญญา-ขันธ์ และสังขารขันธ์ ในเบญจขันธ์นั่นเอง กล่าวคือขันธ์ทั้ง ๓ นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจประกอบกับใจเท่านั้น เช่น เวทนาขันธ์อันได้แก่สุข ทุกข์ อุเบกขา โสมนัส และโทมนัสเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ ประกอบกับจิตเท่านั้น ถ้าไม่มีจิต เวทนาก็เกิดขึ้นไม่ได้ สัญญาและสังขารก็เช่นเดียวกัน ล้วนแต่เกิดขึ้นในจิต ประกอบกับจิตใจทั้งสิ้น สิ่งที่เป็นรูปร่างกาย เป็นรูปวัตถุ สามารถมองเห็นได้ สัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง ๕เรียกว่า รูป ได้แก่รูปขันธ์ในเบญจขันธ์นั่นเอง ดังนั้น ปรมัตถธรรม ๓ ข้อแรก จึงได้แก่เบญจขันธ์นั่นเอง กล่าวคือ จิต ได้แก่วิญญาณขันธ์ เจตสิก ได้แก่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ รูป ได้แก่ รูปขันธ์ ส่วนนิพพาน เป็นขันธวิมุต คือเป็นสิ่งที่พ้นจากขันธ์ มิได้นับเนื่องอยู่ในขันธ์ จัดเป็นขันธ์ใดๆ ในเบญจขันธ์มิได้ ดังนั้น ปรมัตถสัจจะ จึงได้แก่ เบญจขัน์และนิพพาน หรือได้แก่ปรมัตถธรรม ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน (นิพพาน เป็นเรื่องลึกซึ้งมากจะได้ศึกษาหลังจากที่ศึกษาปรมัตถธรรม ๓ ข้อแรกเข้าใจดีแล้ว) ให้ดูตารางแสดงการสงเคราะห์ปรมัตถธรรม ๓ ข้อแรกลงในเบญจขันธ์ (ส่วนนิพพานเป็นขันธวิมุต) ดังนี้
ประเภทแห่งรูปขันธ์ เบญจขันธ์ข้อแรก คือรูปขันธ์นั้น แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือมหาภูตรูป และอุปาทายรูป ก. มหาภูตรูป ๔ : มหาภูตรูป แปลว่ารูปที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน เป็นหลักสำคัญ(นับได้ว่าเป็นรูปประถมภูมิ) โดยเป็นที่อาศัยหรือเป็นบ่อเกิดของรูปทั้งปวง ได้แก่ธาตุ ๔ คือปฐวี (ธาตุดิน=ของแข็ง) อาโป (ธาตุน้ำ=ของเหลว) เตโช (ธาตุไฟ=พลังงาน) และวาโย (ธาตุลม=ก๊าซ) มหาภูตรูปหรือธาตุทั้ง ๔ นี้ เป็นสิ่งประกอบสำคัญที่ทำให้ชีวิตมีรูปร่างขึ้น เป็นเนื้อเป็นหนังขึ้น และธาตุทั้ง ๔ นี้เป็นสหชาตธรรม คือเป็นสิ่งที่เกิดพร้อมกัน อยู่ร่วมกัน และได้ชื่อว่าเป็นอวินิพโภครูป คือเป็นรูปที่แยกจากกันมิได้ เป็นธาตุที่แยกจากกันไม่ได้ ไม่ว่าจะปรากฏณ ที่ใด จะต้องมีครบทั้ง ๔ เสมอ แต่อาจจะมีธาตุใดธาตุหนึ่งยิ่งหรือหย่อนกว่ากันเท่านั้น ธาตุทั้ง ๔ นี้มีลักษณะแตกต่างกันในประการสำคัญ ดังนี้ ปฐวีธาตุ เป็นธาตุที่มีลักษณะแข็ง (เป็นของแข็ง) เมื่อนำไปเปรียบกับธาตุอื่น จะพบว่าธาตุนี้มีสภาพแข็งแรงกว่าอื่น วัตถุใด อวัยวะใด มีปฐวีธาตุมาก วัตถุนั้น อวัยวะนั้นก็มีความแข็งมาก ถ้ามีปฐวีธาตุน้อยก็แข็งน้อยหรืออ่อน เพราะความอ่อนก็คือความแข็งน้อย หรือความแข็งลดลงนั่นเอง ในอาการ ๓๒ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในร่างกายคนและสัตว์นั้น ส่วนที่มีปฐวีธาตุมากมีอยู่ ๒๐ ส่วน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจตัว พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง อาโปธาตุ เป็นธาตุที่มีลักษณะไหลหรือเกาะกุม (เป็นของเหลว) วัตถุใด อวัยวะใดมีอาโปธาตุพอประมาณ วัตถุนั้น อวัยวะนั้นก็มีการเกาะกุมดี มีความเหนียวแน่นมาก ถ้ามีอาโปธาตุมากไปหน่วยอก็มีการเกาะกุมไม่สู้ดี มีความเหนียวแน่นน้อยหน่อย ถ้ามีอาโปธาตุเป็นจำนวนมากแล้ว ก็จะมีความเกาะกุมน้อยลง จนเป็นของเหลวและไหลไปได้ เมื่ออาโปธาตุถูกความร้อน(เตโชธาติมาก) ก็จะทำให้เกิดการไหล เมื่ออาโปธาตุถูกความเย็น (เตโชธาตุลดลงมาก) ก็จะทำให้เกิดการเกาะกุม เช่น เหล็กหรือขี้ผึ้ง เมื่อถูกความร้อนก็ละลายไหลได้ เมื่อถูกความเย็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น