วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สังคหะ4

ต่อจาก...สังคหะ3
โดยนัยนี้ จึงเป็นอันอนุมานได้ว่าโลหิตมีอยู่ ณ ที่ใด จิตใจก็อาศัยอยู่ ณ ที่นั้นได้ แต่อวัยวะที่
เป็นศูนย์สูบฉีดโลหิตที่สำคัญที่สุดนั้นได้แก่หัวใจ โบราณจึงถือว่าจิตอยู่ที่หัวใจ
ชีวิตรูป : ชีวิตรูป แปลว่า รูปที่ทำให้ดำรงอยู่ ทำให้เป็นอยู่ได้ หมายความว่า ทำให้
กรรมชรูป (รูปเกิดจากกรรม เช่น ปสาทรูป และภาวรูป เป็นต้น) ดำรงอยู่ได้ โดยชีวิตรูปนี้
ทำหน้าที่ธำรงสหชาตรูป (รูที่เกิดร่วมกับตน คือกรรมชรูป) มิได้สลายไป กล่าวคือ ตา หู
จมูก-ลิ้น กาย เป็นต้น ที่สามารถทำหน้าที่ได้อยู่ ยังเป็นอยู่ได้ ก็เพราะมีชีวิตรูปรักษาไว้ ธำรงไว้
ตลอดอายุ
อาหารรูป : อาหารรูป แปลว่า รูปที่เป็นอาหาร ได้แก่โอชาที่อยู่ในอาหารที่บริโภค ซึ่ง
อาหารรูปนี้จะทำให้รูปกายดำรงอยู่และเจริญเติบโต ทั้งสนับสนุนรูปกายให้มีความแข็งแรง ถ้าขาด
อาหารเด็ดขาดแล้วรูปกายก็จะดำรงอยู่ไม่ได้
ปริจเฉทรูป : ปริจเฉทรูป แปลว่า รูปที่เป็นช่องคั่น หมายความว่าช่องว่างระหว่างรูปต่อ
รูป กล่าวคือระหว่างรูปต่างๆ ที่เบียดกันอยู่นั้นมีช่องว่างคั่นอยู่ตลอดไป เช่น ระหว่างเนื้อกับหนัง
ระหว่างเอ็นกับกระดูก ระหว่างเซลล์ต่อเซลล์ ตลอดระหว่างปรมาณูต่อปรมาณู ย่อมมีช่องว่าง
คั่นอยู่ทั้งสิ้น ช่องว่างที่คั่นอยู่นั้นเรียกว่าปริจเฉทรูปนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อกาสรูป
วิญญัตติรูป ๒ : วิญญัตติรูป แปลว่า รูปที่บอกให้รู้ความหมาย ให้เข้าใจความประสงค์
มี ๒ ชนิด คือ กายวิญญัตติ และวจีวิญญัตติ
กายวิญญัตติ แปลว่า รูปที่บอกให้รู้ความหมายทางกาย การเคลื่อนไหวทางกาย เช่น
การกวักมือเรียก การพยักหน้า การสั่นศีรษะ การเดิน การวิ่ง เป็นต้น
วจีวิญญัตติ แปลว่า รูปที่บอกความหมายทางคำพูด ได้แก่การพูด การเปล่งวาจา
เช่น พูดถาม พูดตอบ เรียก ขาน เป็นต้น
วิการรูป ๓ : วิการรูป แปลว่า รูปที่บอกอาการเปลี่ยนแปลง มี ๓ ชนิด คือ ลหุตา
มุทุตา และกัมมัญญตา
ลหุตา แปลว่า ความเบาแห่งรูป ได้แก่ความว่องไว ความกระปรี้กระเปร่า ความ
กระฉับกระเฉง ความไม่อืดอาด เป็นต้น
มุทุตา แปลว่า ความอ่อนแห่งรูป ได้แก่ความคล่องตัว ความไม่กระด้าง ความ
นุ่มนวล เป็นต้น

กัมมัญญตา แปลว่า ความควรแก่การงานแห่งรูป ได้แก่ความใช้การใช้งานได้
ความเข้มแข็ง เป็นต้น
ลักขณรูป : ลักขณรูป แปลว่า รูปที่บอกลักษณะแตกต่าง บอกข้อแตกต่าง มี ๔ ชนิด
คือ อุปจยะ สันตติ ชรตา และอนิจจตา
อุปจยะ แปลว่า ความเกิดขึ้นขณะแรกแห่งรูป ได้แก่ความเกิดขึ้นครั้งแรก นับแต่
ปฏิสนธิเป็นต้นมา
สันตติ แปลว่า ความสืบต่อแห่งรูป ได้แก่การสืบแทนต่อเนื่องกันมาแห่งรูป คือ
การเจริญต่อเนื่องกันไม่ขาดสายแห่งรูป
ชรตา แปลว่า ความทรุดโทรม ความคร่ำคร่าแห่งรูป
อนิจจตา แปลว่า ความไม่เที่ยง ความไม่ยั่งยืนแห่งรูป
ข้อสังเกต อุปจยะและสันตตินั้น เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ชาติรูป (รูปคือความเกิด)
หรืออุปปาทรูป (รูปคือความเกิดขึ้น) ชรตา นั้น เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ฐิติรูป (รูปที่ดำรงอยู่)
หรือชรารูป (รูปเก่า) อนิจจตา นั้น เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ภังครูป (รูปแตกดับ) หรือมรณรูป
(รูปตาย)
สรุป
รูปขันธ์ทั้ง ๒ ประเภทใหญ่ คือทั้งมหาภูตรูป และอุปาทายรูป (รวมเป็นรูป ๒๘ อย่าง)
ดังกล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงทุกยุคทุกสมัย จึงเป็นปรมัตถสัจจะ คือเป็นของจริงจริงๆ เป็น
สภาวะที่จริงแท้ และของจริงนี้เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของชีวิต
วิญญาณขันธ์ (จิต)
กามาวจรจิต
กามาวจรจิต แปลว่า จิตที่เกาะเกี่ยวอยู่ในกาม ติดอยู่ในกาม ผูกพันอยู่ในกาม คำว่า
กาม ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่น่ารักน่าใคร่ สิ่งที่ล่อใจให้เกิดความโลภ ความโกรธ และความหลง
อันได้แก่กามคุณ ๕ คือ รูป (สี) เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ จิตที่เกาะเกี่ยวอยู่ ติดอยู่
ผูกพันอยู่ในกามคุณ ๕ นี้ เรียกว่า กามาวจรจิต ถ้าว่าโดยภูมิก็ได้แก่จิตที่อยู่ในระดับกามวจรภูมิ
ทั้ง ๑๑ ภูมิ คือ อบายภูมิ ๔ (ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และดิรัจฉาน) มนุษย์ ๑
สวรรค์ ๖ ภูมิ ซึ่งภูมิทั้ง ๑๐ ภูมินี้เรียกว่า กามาวจรภูมิ หรือกามภูมิ แปลว่าภูมิที่เกาะเกี่ยวอยู่ในกาม.
จิตที่อยู่ในระดับกามวจรภูมินี้จึงเรียกว่า กามาวจรจิต
กามาวจรจิตนั้นมี ๕๔ ดวง แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
(๑) กุศลจิต ๘
(๒) อกุศลจิต ๑๒
(๓) อัพยากตจิต ๓๔
รวม ๕๔ ดวง
กุศลจิต ๘ : กุศลจิต แปลว่าจิตที่เป็นกุศล เป็นจิตระงับกิเลส เป็นจิตที่เป็นบุญคือ
จิตที่ดีงาม เป็นจิตที่ให้คุณ มี ๘ ดวง คือ
(๑) โสมนสฺสสหคตํ ตาณสมฺปยุตฺตํ อสฺงขาริกํ
จิตที่เกิดพร้อมกับความดีใจ ประกอบด้วยญาณ ไม่มีสิ่งชักจูง
(๒) โสมนสฺสสหคตํ ตาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดพร้อมกับความดี ประกอบด้วยญาณ มีสิ่งชักจูง
(๓) โสมนสฺสสหคตํ ตาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดพร้อมกับความดีใจ ปราศจากญาณ ไม่มีสิ่งชักจูง
๑๔
(๔) โสมนสฺสสหคตํ ตาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดพร้อมกับความดีใจ ปราศจากญาณ มีสิ่งชักจูง
(๕) อุเปกฺขาสหคตํ ตาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดพร้อมกับความเฉย ประกอบด้วยญาณ ไม่มีสิ่งชักจูง
(๖) อุเปกฺขาสหคตํ ตาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดพร้อมกับความเฉย ประกอบด้วยญาณ มีสิ่งชักจูง
(๗) อุเปกฺขาสหคตํ ตาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
จิตที่เกิดพร้อมกับความเฉย ปราศจากญาณ ไม่มีสิ่งชักจูง
(๘) อุเปกฺขาสหคตํ ตาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
จิตที่พร้อมกับความเฉย ปราศจากญาณ มีสิ่งชักจูง
กุศลจิตดวงแรก เป็นจิตที่เกิดขึ้นร่วมกับความดีใจ เพราะปรารภอารมณ์ คือ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ขณะเดียวกันก็มีญาณ คือความรู้
เป็นสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น ไม่มีสิ่งชักจูง คือ เกิดขึ้นเอง เช่น เมื่อปรารภไทยธรรมและปฎิคาหก
ที่มีพร้อมและดีพร้อม หรือปรารภเหตุที่ทำให้เกิดความดีใจอย่างอื่นแล้วมีความร่าเริงยินดี
เกิดสัมมาทิฏฐิ เห็นว่าทานที่ถวายแล้วย่อมมีผลอย่างแน่นอน ทั้งมิได้ท้อถอย ได้ทำบุญ
ต่างๆ เช่นถวายทานเป็นต้น โดยไม่มีใครกระตุ้นเตือน อย่างนี้ชื่อว่าทำบุญด้วยกุศลจิต
ดวงแรก คือมีกุศลจิตดวงแรกเกิดขึ้นจึงทำบุญ
กุศลจิตดวงที่สอง ก็เป็นเช่นเดียวกับกุศลจิตดวงแรก ต่างแต่เป็นจิตมีสิ่งชักจูง จึง
เกิดขึ้นได้ เช่น เมื่อปรารถนาไทยธรรมและปฏิคาหกที่มีพร้อมและดีพร้อม หรือปรารภเหตุที่ทำให้
เกิดความดีใจอย่างอื่นแล้วมีความร่าเริงยินดี เกิดสัมมาทิฏฐิเห็นว่าทานที่ถวายแล้วย่อมมีผลอย่าง
แน่นอน แต่ยังมีความท้อถอยอยู่ ต่อเมื่อมีผู้อื่นกระตุ้นเตือนจึงทำบุญถวายทานเป็นต้น อย่างนี้
ชื่อว่าทำบุญด้วยกุศลจิตดวงที่สอง คือมีกุศลจิตดวงที่สองเกิดขึ้นจึงได้ทำบุญ
กุศลจิตดวงที่สาม เป็นจิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับความดีใจ และไม่มีสิ่งชักจูงเช่นเดียวกับ
กุศลจิตสองดวงแรก แต่เป็นจิตที่ปราศจากญาณ ปราศจากปัญญา ไม่ทราบเหตุผลในการทำความดี
แต่ทำไปด้วยความดีใจ เช่น พวกเด็กๆ ที่ยังไม่เดียงสา ได้พบเห็นบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น